กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
Department of Labour Protection and Welfare

แรงงานมีปัญหา โทรปรึกษา สายด่วน 1546

  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

รองอธิบดี กสร. ร่วมหารือให้ข้อมูลกับ รมว.แรงงาน ในการต้อนรับนายศรีสุวรรณ จรรยา และตัวแทนคณาจารย์ กรณีการออกข้อกำหนดคุณสมบัติของ จป.วิชาชีพ


     วันที่ 9 กันยายน 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับนายศรีสุวรรณ จรรยา และตัวแทนคณาจารย์ จาก 48 สถาบัน หารือการออกข้อกำหนดคุณสมบัติของ จป.วิชาชีพ โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลตำรวจตรี นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่กระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน และนายวรรณรัตน์ ศรีสุกใส รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เข้าร่วมด้วย ณ ห้องจัตุมงคล ชั้น 6 กระทรวงแรงงาน โดย นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย นำตัวแทนคณะอาจารย์จากสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (สคอป.) และตัวแทนนิสิตนักศึกษา จำนวน 10 คน เข้าพบเพื่อหารือโดยมีประเด็นดังนี้
     การออกข้อกำหนดคุณสมบัติ จป.วิชาชีพ ตามร่างกฎกระทรวง ใน ข้อ 21(3) คนที่จบปริญญาตรี สาขาไหนก็ได้ทำงานมา 5 ปี สามารถอบรมเพื่อได้ใบประกอบความปลอดภัยในการทำงาน (จป.วิชาชีพ) การจัดตั้งหลักสูตรฝึกอบรม ทั้งหมด 222 ชั่วโมง ของกรมสวัสดิการเเละคุ้มครองแรงงาน ซึ่งขัดกับบุคคลที่เรียนจบสายตรงจป.วิชาชีพ เเละส่งผลให้มาตรฐานของบุคคลที่ทำจป.มีประสิทธิภาพการทำงานลดน้อยลง
     รมว.รง.เสนอในที่ประชุมให้จัดตั้งคณะทำงานโดยมอบหมายให้นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขา รมว.รง เป็นประธาน และนายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รอง อ.กสร.เป็นฝ่ายเลขา และตัวแทนคณะอาจารย์ จำนวน 5 คน เป็นคณะกรรมการ เพื่อประชุมในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
     ตัวแทนคณะอาจารย์เสนอที่ประชุม ให้ กสร. รวบรวมจำนวนงานที่เกี่ยวกับจป.วิชาชีพในสถานประกอบการต่างๆ ในประเทศ ที่มีข้อมูลว่าปัจจุบันมีตำแหน่งว่างในสถานประกอบการ จำนวน 3,020 แห่ง พร้อมหาชื่อบริษัท ที่ตั้ง เบอร์โทรเพิ่มเติมเพื่อส่ง นศ.ที่จบป.ตรี ใหม่ หรือนศ.ที่กำลังจะจบป.ตรี(จป.วิชาชีพ) เข้าทำงาน เพื่อเตรียมข้อมูลในการประชุมร่วมกัน ผลการหารือเป็นที่พอใจ สำหรับผู้แทนคณะที่เข้าพบ ได้แก่
1. รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์
2. รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา อยู่สุข
3. รองศาสตราจารย์วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล
4. รองศาสตราจารย์ ดร.สสิธร เทพตระการพร
5. อาจารย์ ดร.เด่นศักดิ์ ยกยอน
6. รองศาสตราจารย์ ดร. ปวีณามีประดิษฐ์
7. รองศาสตราจารย์ ดร.อารุญ เกตุสาคร
8. นายกิตติกร เทศเอี่ยม นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาอาชีวอานามัยและความปลอดภัยและรองนายกสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย
9. นายธนทัต ทิศาภาคย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 นายกสมาพันธ์นิสิตนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย


ข้อมูลบริการ

ร้องเรียน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 149 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546 e-Mail: info@labour.mail.go.th
รับ-ส่งหนังสือราชการ e-Mail: saraban@labour.mail.go.th

© 2024 Your Company. All Rights Reserved.

Facebook Twitter Youtube Line - ปรึกษาปัญหาแรงงาน