กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
Department of Labour Protection and Welfare

แรงงานมีปัญหา โทรปรึกษา สายด่วน 1546

  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

รมว.เฮ้ง ห่วงเหตุอาคารทรุด ย่านพระราม 9 ทำลูกจ้างบาดเจ็บ สั่ง กสร. กับ สปส. หาสาเหตุและเร่งช่วยเหลือตามสิทธิ


              รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ห่วงเหตุอาคารก่อสร้างทรุดตัวย่านพระราม 9 ทำให้มีลูกจ้างบาดเจ็บ 5 ราย สั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม หาสาเหตุและเร่งช่วยเหลือตามสิทธิ

              นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กรณีสื่อมวลชนนำเสนอข่าว เกิดเหตุอาคารก่อสร้างที่พักอาศัยถล่มทับลูกจ้างบาดเจ็บ 5 ราย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.00 น. ในเบื้องต้น ผมได้รับรายงานจากพนักงานตรวจความปลอดภัย สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 เหตุเกิดในพื้นที่ใกล้เคียงกับอาคารโชว์ดีซี ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร โดยเป็นพื้นที่โครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัย ขณะเกิดเหตุมีลูกจ้างทำงานอยู่ภายในอาคารประมาณ 130 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 5 ราย สัญชาติกัมพูชา นำส่งโรงพยาบาลเพชรเวชแล้ว จำนวน 3 ราย และไม่ประสงค์ให้นำส่งโรงพยาบาลจำนวน 2 ราย ผมจึงสั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ พร้อมจะเดินทางไปเยี่ยมลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บที่โรงพยาบาลเพชรเวช และจะเร่งดำเนินการให้ได้ลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายต่อไป

               ด้านนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า พนักงานตรวจความปลอดภัย สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (สรพ.5) จะเชิญนายจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องมาสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อตรวจสอบว่านายจ้างได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ.2564 กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยฯ เกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ.2564 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือไม่ ทั้งนี้ ขอความร่วมมือนายจ้าง และลูกจ้างปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

                นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวแล้ว พบว่า ลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บจำนวน 5 ราย สัญชาติกัมพูชา เป็นผู้ประกันตน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเพชรเวช จำนวน 3 ราย เพศหญิง 2 ราย ชื่อ Miss NE EHEA และ Miss THAI EHUM เพศชาย 1 ราย ชื่อ MR. CHHIN CHHOEUN ทั้ง 3 รายบาดเจ็บเล็กน้อย อีก 2 รายไม่ประสงค์จะไปโรงพยาบาล โดยลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ในเรื่องการรักษาพยาบาล สิทธิการได้รับเงินทดแทนจากสำนักงานประกันสังคม อาทิ ค่ารักษาพยาบาลในเบื้องต้นไม่เกิน 50,000 บาท กรณีต้องหยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีรักษาสิ้นสุดแล้วแต่สภาพอวัยวะต่าง ๆ มีการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานจะมีค่าทดแทนต่อไป


ข้อมูลบริการ

ร้องเรียน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 149 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
สายด่วน 1506 กด 3 หรือ 1546 e-Mail: info@labour.mail.go.th
รับ-ส่งหนังสือราชการ e-Mail: saraban@labour.mail.go.th

© 2024 Your Company. All Rights Reserved.

Facebook Twitter Youtube Line - ปรึกษาปัญหาแรงงาน