วิสัยทัศน์
แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงเทียบเท่าระดับสากลในปี 2564
พันธกิจ
- ยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในการทำงาน
- สร้างเสริมภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการทำงานที่มีคุณค่า
- พัฒนาการบริหารจัดการด้านคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการแรงงาน
- พัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงและมีธรรมาภิบาล
แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 1 : การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน
เป้าหมาย
- แรงงานได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายและมีสวัสดิการที่เหมาะสม
- แรงงานมีความปลอดภัยในการทำงานและมีสุขภาพอนามัยที่ดี
- แรงงานมีสิทธิเสรีภาพในการสมาคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
แนวทางการพัฒนา
- สร้างการรับรู้ให้กับนายจ้าง ลูกจ้างสถานประกอบกิจการ แรงงานต่างด้าว และองค์กรภาคีต่าง ๆ
- กำกับ ดูแล ให้แรงงานได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย
- พัฒนาช่องทางการเข้าถึงสิทธิและบริการของกรม
- พัฒนา กลไกการกำกับ ดูแลแรงงานและการสงเคราะห์ลูกจ้าง (กฎหมายและมาตรฐาน รูปแบบการตรวจ วิธีการ)
- เสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดและสภาพแวดล้อมเชิงบวกในสถานประกอบกิจการ
- ป้องกันการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย การใช้แรงงานบังคับ การทำประมงผิดกฎหมาย
- ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจ
- ส่งเสริมให้มีการจัดสวัสดิการแรงงาน
- บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
- สร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัย
- พัฒนาระบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยในการทำงาน
- ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเครือข่ายแรงงาน
แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 2 : การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและแข่งขันได้
เป้าหมาย
- ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน
- ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องและแข่งขันได้
แนวทางการพัฒนา
- ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) และมาตรฐานแรงงานไทย (TLS 8001-2010) ไปใช้บริหารจัดการด้านแรงงาน
- พัฒนาสถานประกอบกิจการให้มีระบบการบริหารจัดการด้านแรงงานที่ดี
- ส่งเสริมให้ผู้ว่าจ้างปฏิบัติตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง
- ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่แรงาน
- พัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์
- พัฒนาระบบความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ
- ปรับปรุงกระบวนงานบริการเพื่ออำนวยความสะดวกโดยใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัล
แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 3 : การเสริมสร้างภาคีเครือข่ายให้เกิดพลังร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในการทำงาน
เป้าหมาย
- เครือข่ายมีความรู้ ความเข้าใจในภารกิจที่เกี่ยวข้อง
- เครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการพัฒนา คุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในการทำงาน และความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน
- กรมมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มีข้อมูลสารสนเทศ และทรัพยากรในการปฏิบัติงานระหว่างเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
แนวทางการพัฒนา
- พัฒนาศักยภาพเครือข่ายด้านแรงงาน (อบรม)
- พัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ภารกิจและบริการของกรม (KM)
- สรรหาเครือข่ายในการร่วมขับเคลื่อนภารกิจของกรม
- สร้างกิจกรรมให้เครือข่ายร่วมดำเนินการ
- สร้างแรงจูงใจให้กับเครือข่ายด้านแรงงานเพื่อร่วมขับเคลื่อนภารกิจของกรม
- สร้างและแสวงหาความร่วมมือกับเครือข่ายแรงงานทั้งในและต่างประเทศ
แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ 4 : การพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีธรรมาภิบาล
เป้าหมาย
- กรมเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง ทันสมัย มุ่งสู่ระบบราชการ 4.0 และมีธรรมาภิบาล
- บุคลากรกรมมีคุณธรรม จริยธรรม และมีความผูกพันในองค์กร
- บุคลากรกรมมีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ สามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และทั่วถึงและมีพฤติกรรมสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร
- ระบบสารสนเทศสนับสนุนการปฏิบัติราชการและให้บริการภาครัฐมีประสิทธิภาพและทันสมัย
- ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจ
แนวทางการพัฒนา
- พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ PMQA 4.0
- พัฒนาการให้บริการตามมาตรฐานการพัฒนาระดับประเทศ
- พัฒนาการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรม
- เสริมสร้างระบบคุณธรรม จริยธรรมขององค์กร และความผูกพันของบุคลากร
- ขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรของกรมให้เป็นรูปธรรม
- พัฒนาศักยภาพของบุคลากร
- ปรับปรุง พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารงาน การปฏิบัติราชการ และการให้บริการภาครัฐ
- พัฒนามาตรฐานการให้บริการของกรม ให้ได้ตามมาตรฐานการบริการระดับประเทศ